[article] ไตร่ตรอง ข้อความสักนิด ก่อนคิดจะแชร์

 
 
 
       ปัจจุบันการเล่าเรื่องราวสถานการณ์ต่างๆ บนโลก โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ ไวรัลวิดีโอ คลิปภาพ ข้อความ หรืออื่นๆ "นั้นกำลังกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากผู้เสพ สื่อออนไลน์"

       หลากหลายประเด็น
ในโลกออนไลน์ ได้นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่างกันและแม้ว่าการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมีเหตุผลจะเป็นเรื่องที่ดี 
แต่...หากลุกลามไปถึงขั้นที่เกิดการโต้เถียงจนเป็นความรู้สึกเกลียดชังหรืออยู่ในขั้วตรงข้าม
 

 
       เพราะความเห็นต่างที่ตามมาด้วยการดิสเครดิต ทำร้ายและทำลายให้อีกฝ่ายเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออาจหนักไปจนถึงขั้นรังควานข่มขู่ นั่นอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่โลกออนไลน์ได้ซ้อนทับและสร้างปัญหาใหญ่ให้เกิดขึ้นในความเป็นจริง 

       ลองนึกฉากที่มักเห็นได้บ่อยๆ...ในภาพยนตร์อเมริกันที่เด็กวัยรุ่นกลั่นแกล้งกันแรงๆ ขังเด็กเนิร์ดเชยๆ เอาไว้ในตู้ล็อกเกอร์ แกล้งดึงเก้าอี้จังหวะเดียวกับที่เพื่อนหย่อนก้นลงนั่ง สิ่งเหล่านี้คือการกลั่นแกล้งกันในชีวิตจริง

ต่ Cyberbullying คือการโยกย้ายพฤติกรรมทั้งหมดนี้มาอยู่บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนรูปแบบจากการทำร้ายกันทางกายภาพ                 มาเป็นการส่งข้อความหยาบคาย
  • แบล็กเมล
  • หรือ ทำให้อับอายผ่านข้อความอีเมล
  • หรือ โพสต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

       โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ทุกอย่างลุกลามรวดเร็วเพียงอึดใจ และไม่ใช่เพียงแค่การหยอกล้อเล่นกันให้อีกฝ่ายเจ็บๆ คันๆ แต่หลายครั้งที่กลายมาเป็นที่มาของคดีโศกนาฏกรรมนับไม่ถ้วน

       
ยกตัวอย่าง เช่น...
       คดีของอแมนดา ท็อดด์ (Amanda Todd) เด็กสาววัย 15 ในแคนาดาที่ถูกตามแบล็กเมลด้วยภาพเปลือยของเธอเองที่หลุดไปบนอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเธอตัดสินใจอำลาโลกนี้ไปด้วยการฆ่าตัวตาย

        หรือกระแสการ ‘ล่าแม่มด’ ที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามถ้าหากว่าไม่พอใจกับคำพูดหรือความเห็นของใครสักคนแล้ว ก็จะต้องนำข้อมูลส่วนตัวภาพถ่ายหรือคำพูดในอดีตออกมาโพสต์ประจานกันชนิดคาดหวังให้หมดอนาคต และขยายผลให้กระทบกับชีวิตจริงของเขามากที่สุด
 
     
       จากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามออกกฎควบคุม หรือระบุให้ชัดเจนว่าการกระทำแบบไหนบ้างที่เข้าข่าย Cyberbullying เพื่อกำหนดบทลงโทษผู้ที่กระทำผิด

       โดยมีหลายประเทศที่ประกาศใช้นโยบายและกฎหมายในการต่อต้านและควบคุม Cyberbullying แล้ว เช่น
สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ แคนาดา ชิลี สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์  

       เพราะยิ่ง โซเชียลมีเดีย มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นเครื่องมือชั้นเลิศให้ได้เชื่อมโยงกับผู้อื่นอย่างสะดวกสบายชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อนแล้วผู้ใช้งานก็ยิ่งจำเป็นต้องใช้งานอย่างสร้างสรรค์ 

คิดและไตร่ตรองก่อนโพสต์หรือแชร์ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการ Cyberbullying และลดปริมาณเหยื่อทางอาชญากรรมออนไลน์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles