[article] 5 อาชีพ 5 ท่าน 5 ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

 
 
 
 
๕ อาชีพ ๕ ท่าน ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
 

       หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต แผ่นดินไทยร่ำไห้ นั่นเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงเป็นที่รักและเคารพของปวงชนชาวไทยเสมอมา และนี่คือ 5 อาชีพ 5 ท่าน 5 ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
๑.
รศ. นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ผู้เคยถวายงานเข็นพระเก้าอี้ในหลวง ร.๙
 
เปิดใจ " รศ. นพ.ประดิษฐ์ " ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หรือ พ่วงอีกตำแหน่งหนึ่งซึ่งคนไทยคงจดจำกันได้ดี ในฐานะ “ผู้ถวายงานเข็นพระเก้าอี้เลื่อน” ให้ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ทุกครั้ง ที่เสด็จลงจากที่ประทับที่โรงพยาบาลศิริราชเรื่อยมา 

เริ่มเมื่อ " รศ. นพ.ประดิษฐ์ " เป็นแพทย์แล้ว ก็เริ่มเป็นอาจารย์แพทย์ ใน สาขาวิชาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาได้สักพักหนึ่ง “ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี”  "ได้ติดต่อหาทุนมหาวิทยาลัยที่กลาสโกลว์ สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลก จึงจะให้ “รศ. นพ.ประดิษฐ์” ไปเรียน Medicine ที่นั่นแล้วค่อยไปต่อ เฉพาะทางหัวใจ รวมแล้วใช้เวลาทั้งหมด 5 ปี" “รศ. นพ.ประดิษฐ์” ตัดสินใจไปศึกษาทุนนี้ต่อจบการศึกษา
                                      (ภาพประกอบ : drama.gazips)
       “รศ. นพ.ประดิษฐ์” ได้กลับเมืองไทยในช่วงเดือน พฤษจิกายน พ.ศ. 2537 ปรากฏว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ทรงมีปัญหาเกี่ยวกับพระหทัย ในส่วนของทางแพทย์ประจำพระองค์ ก็ได้หาดูว่ามีโรงพยาบาลแห่งไหนที่เหมาะจะรักษาพระอาการได้บ้าง และ“รศ. นพ.ประดิษฐ์” ก็ได้รับโอกาสให้ไปนำเสนอว่าโรงพยาบาลศิริราชมีอะไรบ้าง สรุปทางแพทย์ประจำพระองค์เลือกโรงพยาบาลศิริราชในการรักษาพระอาการของ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’
“รศ. นพ.ประดิษฐ์” ก็มีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ ถึง 6 เดือน และ 6 เดือน
หลังจากนั้น ก็มีพระบรมราชโองการให้ผมเป็นแพทย์เวรประจำ ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา”


                                                                                                                                                       (ภาพประกอบ : drama.gazips)

       " รศ. นพ.ประดิษฐ์ " มีโอกาสได้รับใช้ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ในฐานะแพทย์เวรประจำ และทำหน้าที่ทีมถวายการรักษาพระหทัย ของพระองค์ท่าน ซึ่ง “รศ. นพ.ประดิษฐ์” ย้อนกลับไปให้ฟังว่า การได้รับใช้ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ถือเป็นโชคดีที่สุดของชีวิต และไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ หากแต่มาด้วยความกตัญญู
‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’
ทรงตรัสอยู่อย่างหนึ่งเสมอว่า...

‘เวลาเรียนให้เป็นเล่น เวลาเล่นให้เป็นเรียน’ เช่นเรื่องน้ำ เด็ก ๆ ท่านทำเขื่อน ก็เรียนรู้จากตรงนั้น
จนท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำ นี่คือเล่นให้เป็นเรียน พยายามเรียนให้สนุก

--
“คุณจะไม่เคยเห็นกษัตริย์ที่ไหนใช้ชีวิตเหมือนคนปกติเท่าพระองค์ท่านทั้งชีวิตที่ผมเห็น พระองค์ท่านไม่เคยฟุ้งเฟ้อเลย แล้วท่านนึกถึงประชาชนเยอะมากพวกเราบางทียังใช้ของหรูกว่าท่านเลย ยาสีฟัน น้ำหอม เสื้อผ้า ท่านใช้เหมือนคนปกติท่านเป็นคนสมถะ
ทานอาหารก็เป็นอาหารธรรมดา หากษัตริย์ที่ไหนไม่ได้แล้วในโลกนี้”

 
“โชคดีที่คนไทยมีท่าน ได้เรียนรู้จากท่านสุดยอดแล้ว
ผมอยู่ใกล้ท่าน ผมได้เรียนรู้สิ่งที่ดีจากท่านมาเยอะมาก แค่นี้พอแล้วชีวิตผม”

...........................................................
๒.
นาย ศรไกร แน่นสีนิล หรือ ช่างไก่ ก.เปรมศิลป์
ผู้ถวายงานซ่อมฉลองพระบาท


“ช่างทำรองเท้าร้านเล็ก ๆ สู่โอกาสที่ยิ่งใหญ่ ผู้ถวายงานซ่อมฉลองพระบาท”


 (ภาพประกอบ : M2Fjob.com)

       'ช่างไก่’ เป็นคนโคราชที่ มีอาชีพแรกเริ่มคือ ‘ช่างตัดผม’ และได้ขอเรียนรู้วิธีการซ่อมรองเท้าจากเพื่อนชาวญวนที่เป็นช่องรองเท้า เนื่อง ณ ตอนนั้น ‘ช่างรองเท้า’ มีรายได้ดีกว่า ‘ ช่างตัดผม’ หลายเท่า “เป็นการแสวงหาโอกาสในชีวิตเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม” 

ช่างไก่ เผยว่า เมื่อช่างไก่อยากเรียนรู้วิชา แต่...เขาไม่สอน ช่างไก่เลยต้อง..
ใช้ความขยัน อดทน เพื่อแลกกับการให้ได้วิชาความรู้ในการเป็นช่างซ่อมรองเท้า

 
       แต่ ‘ช่างไก่’ ก็ยังไม่ได้เป็นช่างซ่อมรองเท้า จน เพื่อนที่เป็น ช่องซ่อมรองเท้าหนี้ปัญหามากรุงเทพฯ และที่อยู่ให้ ‘ช่างไก่’ ไว้เป็นสาเหตุให้ ‘ช่างไก่’ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ด้วยต้นทุน 25 บาท จนได้มาเป็นลูกจ้างร้านรองเท้าหลากหลายร้าน แต่ก็เจอปัญหามากมายด้วยความสู่ชีวิตของ ‘ช่างไก่’ ก็ได้มีโอกาสร่วมลงแรงกับเพื่อนที่รู้จักกันในวงการทำรองเท้าเปิดร้านเล็ก ๆ ของตัวเอง แม้กิจการที่ผ่านมาจะต้องล้มลุกคลุกคลานมากสักเท่าไหร่ ‘ช่างไก่’ ก็ไม่เคยย่อท้อ จนได้มีร้านที่ชื่อว่า "ก.เปรมศิลป์" ที่ได้มาจากชื่อพ่อและชื่อแม่ของ  ‘ช่างไก่’

       กว่า 40 ปีของ "ช่างไก่" กับการเป็นช่างซ่อมรองเท้า และต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินรุมเร้า ชีวิตล้มละลาย จนวันกระทั้งวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ในพระราชสำนัก นำฉลองพระบาทมาให้ซ่อม ก็บอกเขาไปว่า “ซ่อมได้นะ แต่นานหน่อย” 
ตอนนั้นมีความต้องการแค่  “อยากให้ฉลองพระบาทของพระองค์อยู่กับเรานาน เพราะไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ซ่อมฉลองพระบาทอีกหรือเปล่า”
                                                                    (ภาพประกอบ : tnews)
       นับตั้งแต่นั้นมา “ช่างไก่” มีโอกาสได้ถวายงานซ่อมฉลองพระบาทอีกหลายคู่ ทั้งฉลองพระบาทที่ใช้ในงานราชพิธี ฉลองพระบาทที่คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงกัด รวมกันแล้วทั้งหมด 6 คู่ 
       แต่สิ่งหนึ่งที่ “ช่างไก่”ปลาบปลื้มมากที่สุดในชีวิต คือ  “ได้ตัดฉลองพระบาทคู่ใหม่ถวายพระองค์ท่าน ด้วยบารมีของพระองค์ท่านช่วยพลิกชีวิต เหมือนชีวิตผมในวันนี้ได้เกิดใหม่อีกครั้ง”
 
...........................................................
๓.
นาย สุนทร ชนะศรีโยธิน เจ้าของร้านสูทวินสันเทเลอร์
ตัดสูทฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

“ผู้ตัดสูทฉลองพระองค์ 7 สี ถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”


(ภาพประกอบ : สำนักข่าวทีนิวส์)
 
“จุดเริ่มต้นของการตัดเย็บเสื้อผ้าจากพี่ชาย”
      
       เมื่อเริ่มทำกิจการร้านตัดเย็บเสื้อผ้า กิจการเริ่มรุ่งเรื่องก้าวหน้า “ช่างสุนทร” จึงตัดสินใจแยกสาขากับพี่ชายมาเปิดร้านของตนเอง ที่แยกเกษตร เป็นจุดกำเนิดอง “ร้านวินสันเทเลอร์” โดยทำการดึงดูดลูกค้าโดยการบริการด้วยใจเพื่อให้ลูกค้าลูกจัก “ร้านวินสันเทเลอร์” มากขึ้น เมื่อเปิดร้านได้ประมาณ 7 – 8 เดือน ก็ลูกค้าท่านหนึ่งนำเสื้อคล้ายเสื้อชูชีพ มาให้ซ่อมเมื่อทำเสร็จแล้ว“ช่างสุนทร”  ก็ไม่ได้ทำการคิดค่าซ่อมแซม และก็นำมาให้ซ่อมแซมอีกเรื่อย ๆ

                                                                (ภาพประกอบ : maanow.com)
       แต่ในทุกครั้งที่นำเสื้อมาให้ “ช่างสุนทร”  ซ่อมนั้น ท่านสุนทรก็ไม่เคยคิดค่าซ่อมเลยสักครั้ง จนวันนี้ลูกค้าท่านนั้นได้ควักนามบัตรออกมาทำการแสดงตัว  “ผมเป็นตำรวจประจำราชสำนัก...ที่เจ้าของร้านทำอยู่นั้นเป็นของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” “ช่างสุนทร” รู้สึกอึ้ง!! และพูดไม่ออกได้แต่ยกมือท่วมหัวและพูดว่า.. “ผมได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทแล้ว”
       3 ผ่านไป... นายตำรวจได้กลับมาหา “ช่างสุนทร” อีกครั้ง เพื่อทำการตัดสนับเพลาสั้น (กางเกงขาสั้น) ลายสก็อต แต่เมื่อนำผ้าลายสก๊อตหลากสีไปถวาย “พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” รับสั่งว่า “ไม่ทรงโปรด ผ้าที่สีไม่สด” จึงไม่ได้ทำการตัดสนับเพลาสั้น (กางเกงขาสั้น) ถวายพระองค์ 
      เมื่อเวลาผ่านไป “ช่างสุนทร” จำได้ว่า “พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดฉลองพระองค์สีสด”  “ช่างสุนทร” คิดในใจไว้เสมอว่า หากมีโอกาสจะตัดฉลองพระองค์สีสดถวาย
“ในสมัยอดีตประชาชนจะมีโอกาสเห็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรฉลองพระองค์ด้วยเชิตสีขาวเรียบ
แต่หลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถวายคำแนะนำให้เปลี่ยนมาทรงสีสดบ้าง
หลังจากนั้นไม่นานทำให้ปรากฏพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์เชิ้ตใหม่ที่มีลวดลายและสีสันสดใสขึ้น ”
    “ครั้งหนึ่งในชีวิตของตัดฉลองพระองค์สูทซักครั้ง”
....
“อยากใกล้ชิด...พ่อหลวง จึงตัดสินใจทำเรื่องของเข้าเฝ้า“ 
จนครั้งหนึ่งได้มีโอกาสใกล้ชิด เป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศ
พร้อมครอบครัว ‘ปลื้มปิติจนหาที่สุดไม่ได้’

“พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่า “ขอบใจนะ ขอบใจ”
 
       หลังจากนั้น “ช่างสุนทร” ก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอีกครั้งและคิดเสมอว่าอยากตัดฉลองพระองค์สูทเพื่อให้พระองค์ได้ทรง ทรงงานในพระราชกรณียกิจต่างๆ โดย “ช่างสุนทร” นึกได้ว่า พระองค์นั้นทรงโปดฉลองพระองค์สีสันสดใส “ช่างสุนทร” จึงตัดฉลองพระองค์ 7 องค์ ซึ่งเป็นสีมงคลของวันทั้ง 7 วัน เข้าน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมแด่“พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” อีกครั้ง
       ในหลวงทรงตรัส “ขอบใจที่ตัดสูทให้ เดี๋ยวนี้ฉันหนุ่มขึ้น สีสดสวยดี” ตั้งแต่นั้นเองทุกคนก็รู้จัก “ช่างสุนทร” ในนามช่างตัดสูทฉลองพระองค์ 7 สี 
(ภาพประกอบ : maanow.com) 

ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหลังจากนั้นก็มีมีโอกาสถวายสูทฉลองพระองค์ มากว่า 40 ปี สร้างความภาคภูมิใจของชีวิตและครอบครัว สิ่งหนึ่งที่ “ช่างสุนทร” เผยว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่เคยรู้มาก่อนคือ... 
“แท้จริงแล้วฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ละชุดนั้น
พระองค์ทรงสวมใส่มายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
นี่คือสิ่งที่พระองค์ ทรงสอนเรามาตลอดตามหลักคำสอน “เศรษฐกิจพอเพียง”


...........................................................
๔.
นาย อนันต์ ร่มรื่นวาณิชกิจ
ช่างทำสีรถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
“ช่างอนันต์ ร่มรื่นวาณิชกิจ” ช่างทำสีรถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ช่างทำสีผู้มีคุณสมบัติ
"ปราณีต ประสิทธิภาพ และมาตรฐาน"

 
       “ช่างอนันต์” เผยว่า “จุดเริ่มต้นของ “ช่างอนันต์” เคยเร่ร่อน หนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อตอนเด็กทางโรงเรียนได้มีการรวมเด็กนักเรียนเพื่อเฝ้ารับเสด็จส่งเสด็จเวลาไปแล้ว “ช่างอนันต์” รู้สึกอยากเห็นเพราะองค์ท่านอยากเห็นรถยนต์พระที่นั่งของ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ เมื่อได้มีโอกาสได้เฝ้ารับเสด็จสิ่งแรกที่ “ช่างอนันต์” รู้สึกคือ “ชอบรถยนต์พระที่นั่ง”
(ภาพประกอบ : หนังสือพิมพ์แนวหน้า)

       
       ครอบครัวของ “ช่างอนันต์” การเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ “ช่างอนันต์” ต้องตื่นแต่เช้ามืดเมื่อเพื่อช่วยที่บ้านทำงานและรู้สุกลำบากใจทุกครั้งที่ต้องทำการเชือดเป็ดเชือดไก่ “ช่างอนันต์” จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 13 ปี ด้วยเงินแต๊ะเอียติดตัว 50 บาท...
       จุดเริ่มต้นการก้าวแรกของอาชีพช่างอู่รถยนต์ ด้วยตำแหน่ง “เด็กหัดงาน” หลังจากนั้นไม่นาน พ่อแม่ “ช่างอนันต์” ตามเจอ  แต่... “ช่างอนันต์” ตัดสินใจไม่กลับไปแล้วบอกกับพ่อแม่ว่า “ขออยู่ตรงนี้ และจะอยู่ให้ได้”
       วันหนึ่งนายช่างอู่รถยนต์ของ “ช่างอนันต์” ได้แจ้งปิดร้านเพื่อ ไปเฝ้ารับเสด็จ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ที่พระองค์ทรงไปทอดพระเนตร ‘การแข่งขันฝีมือช่าง’  
       ‘การแข่งแข็งผีมือช่าง’ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตของ “ช่างอนันต์” “ช่างอนันต์” ตัดสินใจลาออก เพื่อตามหา “ความปราณีต ประสิทธิภาพ และมาตรฐาน” แต่ ...“ช่างอนันต์” ไม่มีวุฒิการศึกษาจึงไม่สามารถไปสมัครงานในบริษัทใหญ่ ๆ ได้
“ไม่สิ้นหวัง ก็ไม่หมดหวัง”
       บริษัทนั้นให้คำแนะนำกับ “ช่างอนันต์” ให้กลับไปศึกษาต่อที่ ’กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ “ช่างอนันต์” ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ ’กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ตามคำแนะนำ และเป็นจุดเริ่มต้นให้ “ช่างอนันต์” ได้เข้าทำงานเป็น ‘ช่างสีรถยนต์’ ในบริษัทที่ใหญ่และมีชื่อเสียง
       เมื่อปี พ.ศ.2530  “ช่างอนันต์” มีอายุ 28 - 29 ปี ได้มีการประกาศมาที่ทางบริษัทว่ามี “งานแข่งขันงานฝีมือช่างแห่งชาติ” “ช่างอนันต์” เป็น ศิษย์เก่าของ ’กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’’ ทางกรมจึงให้ “ช่างอนันต์” ไปช่วย แต่... “ช่างอนันต์” ตัดสินใจส่งชื่อเพื่อเข้าแข่งขันแทน แต่ทางบริษัทไม่อนุญาติให้ “ช่างอนันต์” ลงแข่งขันเนื่องจากกลัวว่าหากแพ้จะทำให้เสียชื่อเสียงของบริษัท แต่ความพยายามของ “ช่างอนันต์” นั้นเองจึงตัดสินใจ ส่งชื่อเอง สมัครเอง ลงทุนเอง
  “ชื่อทีม...คู่หู...”
“สุดท้ายก้าวถึงฝัน แต่...ไม่สุดทางฝัน”
สู่จุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต คือ... ‘การได้เข้าสู่การแข่งขันช่างรถยนต์ในประเภทสีรถยนต์ จนชนะเลิศ’
       “ช่างอนันต์” ชนะการประกวดและได้ผ่านสัมภาษณ์ไปศึกษาดูงานที่ญี่ปุ่น หลังจากนั้น “ช่างอนันต์” ตัดสินใจลาออกจากบริษัท และ มาเปิดอู่รถยนต์เป็นของตนเอง แม้ อู่รถยนต์ของ “ช่างอนันต์” จะเป็นเพียงอู่เล็ก แต่เป็นอู่ที่มีพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีมารตราฐานเทียบเท่าศูนย์รถยนต์ใหญ่ ๆ ได้อย่างแน่นอน อู่รถยนต์ของ “ช่างอนันต์” เริ่มต้นจากอาคารพาณิชย์เพียงแค่ 3 ห้องแถวเท่านั้นจนเติมโตรุ่งเรื่องมาเป็น อู่รถยนต์ขนาดใหญ่และกว้างขวาง
       ภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องของเศรษฐกิจ ในกองราชรถจึงเลือกที่จะทำสีรถยนต์พระที่นั่งภายในประเทศ 
ตามหาช่างที่มีคุณสมบัติ
"ปราณีต ประสิทธิภาพ และมาตรฐาน"
 
        “ช่างอนันต์” จึงได้มีโอกาสเข้าถวายงาน ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ และพระบรมวงศานุวงศ์ และจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ “ช่างอนันต์”  คือ  “ช่างอนันต์”  เคยถวายค่าใช้จ่ายในการทำสีรถยนต์พระที่นั่งให้ในหลวงฟรี แต่‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ทรงโปรด และตรัสว่า “ให้ประมาณตน” นี่คือคำสอนที่ “ช่างอนันต์”  น้อมนำมาใช้ในชีวิตของ “ช่างอนันต์”  มาโดยตลอด  จน “ช่างอนันต์”  สามารถปลดหนี้ 10 ล้านบาทได้สำเร็จ

“ประมาณตน”
หลักนำชีวิต ปลดหนี้สิน 10 ล้าน
 
...........................................................
๕.
นายลักษร์ อนุลักษณ์ ตาณพันธุ์ 
ช่างซ่อมนาฬิกาส่วนพระองค์ ร้าน “อ.ลักษณ์เทฆนิคการช่าง”


 
       ร้าน “อ.ลักษณ์เทฆนิคการช่าง” อาคารพาณิชย์ 2 คูหาปลูกติดกัน ตั้งอยู่บริเวณ ถ.มหาราช ตรงข้ามวัดมหาธาตุ เป็นอีกหนึ่งร้านย่านท่าพระจันทร์ที่เหนือป้ายร้านจะมี “ตราครุฑ” ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล 
 
           ร้านนาฬิกาแห่งนี้คือร้านของช่างซ่อมนาฬิกาที่ถวายงาน 'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช' อาจารย์อนุลักษณ์ ตาณพันธุ์ ช่างซ่อมนาฬิกาที่ถวายงานรับใช้อย่างใกล้ชิด และได้รับการไว้วางใจในเรื่องฝีมือ โดยปัจจุบันแม้ว่า อาจารย์ลักษณ์ได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2556 แต่ยังคงทิ้งความประทับใจที่ได้เคยถวายงานสร้างความปลื้มปิติยินดีให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก                                                             
(ภาพประกอบ : nationtv)
       
       โดยเรื่องราวของอาจารย์ลักษณ์ต่อไปนี้ ได้เล่าผ่าน โดย ผศ.สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ ลูกชายซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
และศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมซ่อมนาฬิกาจาก Chicago School of Watchmaking เมืองชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบได้เข้าทํางานกับบริษัทนาฬิกาฝรั่งแห่งหนึ่งในเมืองไทยอยู่ประมาณ 6 ปี จนเป็นนายช่างใหญ่ประจำบริษัทฯ และเมื่อถึงเวลาอันสมควร “ช่างลักษร์” จึงได้ลาออกจากบริษัทเดิมมาเปิดร้านนาฬิกาเพื่อขายและซ่อมนาฬิกา“โดยใช้ชื่อว่า ห้างอ.ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2505"
       จุดเริ่มต้นที่ “ช่างลักษร์” ได้มีโอกาสรับใช้ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ในฐานะช่างซ่อมและดูแลนาฬิกา 
เริ่มต้นจาก... วันหนึ่ง มีข้าราชการสำนักพระราชวังผู้หนึ่ง ได้อัญเชิญนาฬิกาของ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ มายังห้าง ‘อ.ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง’ เพื่อให้ “ช่างลักษร์” ซ่อมโดยนาฬิกาเรือนแรกที่ได้ถวายการรับใช้นั้น ลักษณะเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะขนาดเล็ก และยังสามารถเล่นเพลงได้ ซึ่งเป็นนาฬิกาที่ ‘สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี’ ได้พระราชทานให้กับ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’  ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

       " ตั้งแต่ที่ “ช่างลักษร์” ได้รับนาฬิกาเรือนแรกจากสำนักพระราชวัง และได้ทำการซ่อมจนสามารถใช้งานได้ตามปกติ จากนั้นต่อมากก็ได้ถวายงานรับใช้ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี โดยนาฬิกาที่ซ่อมนั้นจะมีทั้งนาฬิกาข้อมือ นาฬิกาแขวน นาฬิกาตั้งโต๊ะ และยังรวมไปถึงนาฬิกาชนิดต่าง ๆในสำนักพระราชวัง ในวัดอารามหลวง และสถานที่สำคัญต่าง ๆ อีกด้วย  

       นี่คือจุดเริ่มต้น “ช่างลักษร์” ที่ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’ ทรงมีเมตตาแต่งตั้งให้ “ช่างลักษร์” เป็น "ช่างหลวงประจำพระองค์" “ช่างลักษร์” ไม่เคยสำคัญตัวว่าใหญ่โตกับตำแหน่ง"ช่างหลวงประจำพระองค์" แต่ประการใด แต่  “ช่างลักษร์” กลับภาคภูมิใจเพียงแค่ว่า ได้ใช้วิชาชีพช่างนาฬิกาที่ร่ำเรียนมาถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทเท่านั้น...”

   “ในชีวิตของผมมีผู้มีพระคุณอยู่ 2 คน คือ พ่อแม่ กับในหลวง”
คือคำกล่าวสั้นๆ แต่สะท้อนความจงรักภักดีที่มีต่อ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9’
ที่ประหนึ่ง “พ่อหลวงของแผ่นดิน” อย่างชัดเจนของ “ช่างลักษร์”


............................................
       


 
Created date : 17-10-2017
Updated date : 17-10-2017
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles