[article] Generation World Trend แห่งการสื่อสาร

 
 
 
       หลายๆ คนคงเคยได้ยิน มาบ้างกับคำว่า 3G , 4G แต่ว่าจะมีกี่คนที่จะเข้าใจความหมายของ World Trend เหล่านี้ วันนี้ขอหยิบเรื่องนี้มาขยายกันหน่อย เทคโนโลยีในปัจจุบันทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา เพื่ออะไรกัน?
.........
       เพื่อ…ตอบสนองกับความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่สิ้นสุด เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายก็เช่นกัน ที่นับวันจะหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ และก็จะมีแต่เพิ่มมากขึ้นให้เราก้าวตามแทบไม่ทัน
 
 
       มาย้อนดูยุคบุกเบิก  ยุค 1G Gen แรกสนทนาได้เพียงอย่างเดียว
 
       ยุคที่ใครหลายคนคงถือโทรศัพท์มือถือ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่มาก หน้าตาคล้ายกับวิทยุสื่อสาร เนื่องด้วยเทคโนโลยีในยุคบุกเบิกนั้น ยังอยู่ในรูปแบบ Analog อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ และแบตเตอรี่ ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร การออกแบบระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงมุ่งเน้นบริการเรื่องเสียงเพียงอย่างเดียว ประกอบการการลงทุนสถานีฐานยังมีต้นทุนสูงมาก

       จึงมีจำนวนสถานีฐานน้อย ดังนั้นการรองรับพื้นที่การใช้งานให้มากที่สุดจึงต้องอาศัยการเพิ่มกำลังส่งสัญญาณให้แรง ส่งผลให้ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับการออกแบบให้ส่งสัญญาณแรงด้วย ขณะนั้นในประเทศไทยมีผู้ให้บริการทั้งหมด 3 ราย อาทิ ระบบ NMT 470 MHz โดย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย NMT 900 MHz โดย บริษัท AIS และ AMPS 800 MHz โดย บริษัท TAC
 
        ยุค 2G จาก Analog สู่ Digital

        ตามมาเข้าสู่ยุค 2G (The 2nd Generation) เป็นช่วงที่ทิ้งเวลานาน พอสมควรก่อนจะเข้าสู่ยุค 3G สำหรับมาตรฐานเทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 เป็นยุคที่เปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Analog หรือยุค 1G ไปสู่ Digital Technology เพื่อสนองตอบลูกค้าที่มุ่งการสื่อสารทางเสียงที่ชัดเจน

        สามารถพกพาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานได้ทั่วโลก (Roaming Service) พร้อมคุณสมบัติเรื่องการรับส่งข้อมูลได้อีกด้วย เริ่มมีการส่งผ่านบริการ SMS แบบตัวอักษร หรือภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว จะส่งผ่านบริการ MMS

         ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคเทคโนโลยี 2G ที่ได้รับการตอบรับเชิงพาณิชย์คือ ระบบ GSM และ ระบบ CDMA 

        อย่างไรก็ตาม ระบบ GSM เป็นระบบ ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ทำให้ผู้ให้บริการระบบ CDMA ทยอยกันปิดกิจการไปเรื่อยๆ
สำหรับในประเทศไทย ผู้ให้บริการระบบ
GSM ประกอบด้วย AIS (900 MHz), DTAC (850 MHz) และ TRUE MOVE (1800 MHz) ในขณะที่ผู้ให้บริการระบบ CDMA 20001X ประกอบด้วย HUTCH (800 MHz) ซึ่งกำลังจะยุติการให้บริการปลายปี 2556

       ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเครื่องโทรศัพท์มือถือระบบ CDMA 2000 คือไม่สามารถเปลี่ยนซิมการ์ดเพื่อไปใช้กับผู้ให้บริการระบบ GSM ได้ เนื่องจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ได้รับความนิยมสูงมาก
ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ใน เชิงพาณิชย์ได้ล่าช้าออกไป


 

        ยุค 3G ยุคการเข้าถึงข้อมูล

        ยุค 3G หรือ (The 3th Generation) ที่บางคนก็ยังคงใช้อยู่ เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่เราใช้โทรศัพท์ Smart Phone ที่เน้นการให้บริการข้อมูลมากว่าการให้บริการเสียง มีการต่อยอดจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยุค 2.75G เทคโนโลยี 3G สนับสนุนการใช้งานบริการทั้งเสียงและการสื่อสารข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน


        โดยคุณภาพเสียงเทียบเท่ากับระบบ GSM เดิม และเน้นความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูลระหว่าง 384 Kbps ถึง 42 Mbps ทำให้ผู้ใช้บริการเทคโนโลยี 3G สามารถใช้บริการแบบ Multimedia ได้เต็มรูปแบบผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ บริการด้านเสียง (Voice), บริการเสียงพร้อมภาพ (Video Call), บริการอินเทอร์เน็ต (HSPA) และบริการเสริม เช่น บริการ SMS,บริการ MMS, บริการเสียงเพลงรอสาย (Ring Back Tone) 
 
 
        ส่วนเทคโนโลยี 3G ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี 2G ค่าย CDMA คือ เทคโนโลยี CDMA 2000 1xEV-DO สามารถรองรับความเร็วดาวน์โหลดที่ 2.4 Mbps ผู้ใช้บริการเทคโนโลยี 3G อาจได้รับความเร็วที่แตกต่างกัน สามารถดูระบบ 3G ที่สัญลักษณ์สัญญาณข้อมูลว่า เป็น 3G (ความเร็ว 384 Kbps), H (ความเร็ว 7.2 Mbps) หรือ H+ (ความเร็ว 42 Mbps) โดยความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับสมรรถนะของเครื่อง Smart Phone หรือ Tablet 
      
         
ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3Gถึง 5 รายในตลาดระบบนี้ คือ TOT 3G 2.1GHz, AIS 3G900 MHz, DTAC 3G 850MHz, TrueMove H 850 MHz, และ 3G My CAT 850 MHz
 

 
         ยุคล่าสุด 4G LTE ยุครับข้อมูลข่าวสารด้วยความเร็วสูงสุด

         ยุค 4G (The 4th Generation) หมายถึง มาตรฐานเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ถูกออกแบบเพื่อสนองตอบการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายด้วยความเร็วสูงมากถึง 1Gbps หรือ ความเร็วสูงกว่าเทคโนโลยี 3G กว่า 10 เท่า ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์ไร้สายทำให้รองรับบริการเสียง ภาพ วีดีโอ หรือ Multimedia ด้วยความละเอียดแบบ HD (High Definition) ได้

         
สำหรับย่านความถี่ที่สามารถรองรับเทคโนโลยี 4G ได้ คือความถี่ในย่าน 850 MHz, 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz, 2500 MHz, และ 3600 MHz การพัฒนาเทคโนโลยี 4G ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยใช้เทคโนโลยี WiMaX และ เทคโนโลยี LTE

 

         ซึ่งเทคโนโลยี LTE ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะยังสามารถรองรับผู้ใช้บริการในเทคโนโลยี 3G,WCDMA, HSDPA และ HSPA+ ได้ ซึ่ง LTE มีจุดเด่นที่สามารถให้บริการการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงและลดค่าความหน่วงเวลาจนเกือบเป็นศูนย์

         ทำให้สามารถใช้
Application ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ Application ประเภท RealTime เช่น การโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต (VoIP Service) การรับชมวิดีโอ (VDO Service) และการประชุม (VDO Conference)โดยผ่านการใช้งานแบบ Smart Phone หรือ Tablet
 
         
World Trend แห่งการสื่อสาร เราคือผู้ใช้งานสามารถเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เหมาะกับตัวเอง ศึกษาตามความต้องการ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ แต่…อย่าไปตามมากเกินไป จนส่งผลกระทบเรื่องภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมา
Created date : 19-10-2017
Updated date : 19-10-2017
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles