[article] เปิดเรื่องราว แวน โก๊ะ ผู้ประสบความสำเร็จหลังความตาย

 
 
 



เปิดเรื่องราว "แวน โก๊ะ"
ผู้ประสบความสำเร็จหลังความตาย 


       "ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค" หรือ ที่ในไทยรู้จักในชื่อ "วินเซนต์ แวน โก๊ะ" ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียงของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์แบบ
โมเดิร์น อาร์ต เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย 

 

      

       "แวน โก๊ะ" ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ "แวน โก๊ะ"  เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้น ภาพวาดและแบบร่าง 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะนวยุคนิยมที่ตามมา

ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของ แวน โก๊ะ เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก



       "แวน โก๊ะ" เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ แวน โก๊ะ เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อ แวน โก๊ะ อายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876 


       "แวน โก๊ะ" ก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลย ประกอบกับถูกปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป  และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนข้นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวน โก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่ม 

ในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะเรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียนการเขียนภาพ

    ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่างๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า "โปเตโต อีทเตอร์" 


       เมื่อความเหงา และความอ้างว้างเริ่มเข้ามาเกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจากหมู่บ้าน และเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์เขาได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุดเขาก็ได้เลิกเรียนเพื่อไปยังปารีสไปอยู่กับ "ธีโอ" น้องชาย ธีโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่นั่น ที่นั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ

การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่า ๆ  การป้ายสีเป็นไปอย่างอิสระและเส้นสายเป็นลูกคลื่นที่ได้แบบอย่าง จากภาพเขียนของญี่ปุ่นในช่วงชีวิตนี้ธีโอ คือ ผู้ช่วยเหลือสำคัญทั้งด้านการเงินและทางอารมณ์ของ แวน โก๊ะ ซึ่งถูกกดดันเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่ยอมรับ

 
 

       ในปี 1888 ธีโอได้รับมรดกมาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เขาจึงแบ่งเงินจำนวนนี้เพื่อช่วยเหลือพี่ชายที่กำลังตกยาก นอกจากนี้ ด้วยคำขอของ แวน โก๊ะ ธีโอได้แบ่งเงินอีกส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือ พอล โกแกง (Paul Gau guin) เพื่อนจิตรกรคนสนิทของ แวน โก๊ะ โดยธีโอจ่ายเงินให้โกแกงเพื่อแลกกับภาพเขียนของเขาจำนวน 12 ภาพต่อปี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจ่าย “เงินเดือน” ให้กับโกแกง โดยจ้างให้วาดภาพให้เดือนละภาพนั่นเอง
 

        ต่อมา ธีโอได้แนะนำให้แวน โก๊ะและโกแกงย้ายมาอยู่ด้วยกัน เพื่อที่จะได้ช่วยกันแชร์ค่าใช้จ่าย ซึ่งแวน โก๊ะและโกแกงก็ทำตาม เมื่อมาอยู่ร่วมกัน แวน โก๊ะกับโกแกงเริ่มมีเรื่องระหองระแหงบ่อยครั้งตามประสาลิ้นกับฟัน ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ แวน โก๊ะเริ่มมีอาการทางจิต ซึ่งทำให้เขาทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การที่แวน โก๊ะตระหนักว่าความสัมพันธ์อันร้าวฉานระหว่างเขากับโกแกง คงทำให้ความฝันที่จะได้เปิดสตูดิโอร่วมกับเพื่อนรักคนนี้เลือนรางเต็มทน ก็ยิ่งทำให้เขาเป็นทุกข์ขึ้นไปอีก ท่ามกลางความสับสน ว้าเหว่ จนกลายเป็นซึมเศร้านี้เอง

แวน โก๊ะได้วาดภาพขึ้นมาสองภาพ ภาพหนึ่งเป็นภาพที่ชื่อว่า “เก้าอี้ของแวน โก๊ะ” (Van Gogh’s Chair) บนเก้าอี้นั้นมีไปป์และยาเส้นของเขาวางอยู่ ว่ากันว่าเก้าอี้ตัวนี้มีสัญญะบ่งถึงตัวตนที่แท้จริงของ แวน โก๊ะ โดยมันได้ถอดเอาภาวะอารมณ์ของเขาในเวลานั้นออกมา ทำให้เป็นเก้าอี้ที่ดูแตกต่างและมีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง ก่อนจะกลายเป็น
ภาพเขียนที่โด่งดังไปทั่วโลก


       ในปีเดียวกันนั้นเอง  แวน โก๊ะ ใช้มีดโกนเฉือนหูตัวเอง เพราะทราบข่าวการหมั้นหมายของน้อยชาย ‘ธีโอ’ เหตุที่เขาทำเช่นนั้นเป็นเพราะธีโอเป็นเหมือนสายใยครอบครัวหนึ่งเดียวของเขา ธีโออุปถัมป์ทั้งด้านจิตใจ และทุนทรัพย์แก่พี่ชายอารมณ์ฉุนเฉียวของเขา แม้ตอนแรกนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า แวน โก๊ะ ตัดหูตัวเองก่อนทราบข่าวการหมั้นแต่หลักฐานใหม่ยืนยันว่า แวน โก๊ะ ทราบข่าวงานมงคลของน้องชายในวันเดียวกันที่ตัดสินใจทำร้ายตัวเอง จากจดหมายส่งเงินรายเดือนซึ่ง ‘ธีโอ’ ได้แนบข่าวดีดังกล่าวมาในจดหมายด้วย ซึ่งถือเป็นเชื้อไฟที่ทำให้ แวน โก๊ะ เกิดความเครียดเป็นเหตุให้ทะเลาะกับรูมเมทอย่าง ‘โกแกง’ และตัดสินใจตัดหูในที่สุดต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์
 


 
นอกจากนี้ยังมีข้อโต้แย้งเรื่องมอบหูให้โสเภณี
เพราะแท้จริงแล้ว แวน โก๊ะ มอบอวัยวะของตน
ให้กับแม่บ้านประจำซ่องวัย 18 ปี นามว่า ‘เกเบรียล บาลาเทียร์’
 
       เมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ.1889- 1890 แวน โก๊ะ ย้ายไปอยู่ที่อาร์เลสเมืองชนบทในฝรั่ง เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่ละภาพเต็มไปด้วยความรู้สึกอันรุนแรงของตัวจิตรกรที่รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม การปรากฎของสิ่งต่าง ๆ ประจำวัน ถูกแปรเป็นแผ่นสีที่สดใสและเส้นสายที่สั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่น อันเป็นสัญลักษณ์ของพลังสากลที่ควบคุมสรรพสิ่งในโลกไว้ ผลงานชิ้นเยี่ยมในช่วงนี้คือ ต้นไซเปรสกับหมู่บ้าน บ้านนาหลังใหญ่และดอกทานตะวัน
 
 
       หลังจากที่เขาเริ่มมีเป็นโรควิตกกังวลและมีอาการป่วยทางจิต สุดท้าย "แวน โก๊ะ" ได้จบชีวิตด้วยการยิงตัวตาย แต่...เขาได้เสียชีวิต 2 วันต่อมาหลังจากยิ่งตัวตายเขาตายในวัย 37 ปี ส่วนผลงานชิ้นสุดท้ายของเขา คือ ภาพวาดสวนของจิตรกรนามว่า Daubigny
 
" Daubigny's garden "

       ในปัจจุบัน ผลงานแต่ละชิ้นของ "แวน โก๊ะ" มีราคาสูงลิบลิ่ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าในสมัยที่ "แวน โก๊ะ" มีชีวิต เขาเป็นศิลปินที่ไม่มีชื่อเสียง มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อ ตลอดชีวิตของ "แวน โก๊ะ" เขาขายภาพได้เพียงภาพเดียวเท่านั้น "แวน โก๊ะ" ไม่เคยได้ชื่นชมกับชื่อเสียงและความมั่งคั่งจากผลงานของตนเลย 
 


        เรื่องราวของ แวน โก๊ะ น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับทุกคน ว่าในโลกนี้ ยังมี “มูลค่า” ซุกซ่อนอยู่เสมอ เราจึงไม่ควรมองข้ามสิ่งใกล้ๆ ตัว หรืออะไรก็ตามที่เราเห็นเพียงผ่านๆ มิเช่นนั้นอาจพลาดโอกาสงาม ๆ ไป ในทางตรงกันข้าม หากเรากำลังทำงานที่มีคุณค่า แต่คนอื่นมองไม่เห็นความงดงามของมัน ก็ขอจงมุ่งมั่นศรัทธา ตั้งใจทำต่อไปอย่าล้มเลิก ไม่แน่ว่าสักวัน อาจจะ “ค้นพบ” และทำให้มันกลายเป็น “คุณค่าอันยิ่งใหญ่” เกินกว่าที่เราเคยคิดฝันก็เป็นได้


 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles