[article] โรคหัวใจล้มเหลว ภัยร้ายที่พร้อมจะปิดชีวิตคุณ

 
 
 
         หัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย... หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียงหัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้นเราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือ หัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนเมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย
 

       ถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema) หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเช่น เกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจ
 

       สาเหตุ
 
1.
หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (หลอดเลือดออกผิดปกติ หลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดออกผิดที่) ทำให้เลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่ายกายได้ ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน
2.
ความดันโลหิตสูง เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
3.
โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
4.
หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป หรือเต้นเร็วเกินไป ทำให้หัวใจไม่สามารถปั้มเลือดได้อย่างเพียงพอ
 

 
        อาการ
  • เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มาก จะเหนื่อยหอบเฉพาะเวลาทำงานหนักหรือขึ้นบันได พอพักก็จะหายเหนื่อยแต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเหนื่อยง่าย งานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อยหากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย
  • นอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับเรียกว่า orthopnea
  • แน่นหน้าอกตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมา
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง
  • หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง
  • ข้อเท้าบวม ท้องบวมเนื่องจากมีการคั่งของน้ำในช่องท้อง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเร็ว
  • ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมา ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะนั้นคืออาการน้ำท่วมปอด
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
 

 
        เฝ้าติดตามอาการของโรคหัวใจกำเริบ
 
        ท่านที่เป็นโรคหัวใจหากสามารถเฝ้าระวังรู้เท่าทันโรคและคอยสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าโรคอาจกำเริบขึ้น และรีบมาพบแพทย์ จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที โดยอาการที่ผู้ป่วยต้องเฝ้าระวังมีดังนี้
  • หากน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มากกว่า 1 กิโลกรัม/วัน หรือ 2 กิโลกรัม/สัปดาห์ควรจะแจ้งแพทย์ ผู้ป่วยควรจะชั่งน้ำหนักทุกวัน
  • หอบเหนื่อยขณะพัก
  • บวมเท้าและข้อเท้า
  • เวลานอนต้องใช้หมอนสูง นอนแล้วเหนื่อยต้องลุกขึ้นนั่งพักจึงหายเหนื่อย
  • ไอเป็นประจำโดยเฉพาะไอเวลานอน
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
   
 
        การป้องกันโรคหัวใจวาย
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
  • รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
  • ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ
  • การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ
 
         
ถึงแม้ว่าโรคหัวใจล้มเหลว จะนับได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจ และนอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน จากปัจจัยหลากหลายปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น

         แต่อย่างน้อยถ้าหากผู้ป่วยมีการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หรือแม้กระทั่งมีการจำกัดปริมาณเกลือในแต่ละวัย รวมถึงได้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างเป็นประจำ
จะสามารถช่วยเป็นเกราะป้องกัน ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้นั่นเอง

 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles