[article] 7 สัญญาณเตือน โรคไบโพล่าร์ ที่คุณต้องระวัง

 
 
 
       โรคอารมณ์สองขั้วหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) คือความผิดปกติของสมองที่ประชากรประมาณ 60 ล้านคนทั่วโลกกำลังเป็นอยู่ โรคนี้มีอาการพื้นฐานอยู่ทั้งหมด 4 อาการ ซึ่งอาการพื้นฐานเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เรี่ยวแรง และความคล่องตัว และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบในชีวิตประจำวันรวมทั้งหน้าที่การงาน 

       ซึ่งผู้ป่วยจะมี
อาการซึมเศร้าสลับกับอาการคลุ้มคลั่ง หรือมีอารมณ์ดีผิดปกติ แต่นอกจากจะมีอาการดังกล่าวแล้ว ยังมีการค้นพบว่า ผู้ป่วยมักมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมลองมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

 

1.มีอาการต่างๆของโรคซึมเศร้า

        ในช่วงของโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง  มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง แต่โรคไบโพล่าร์และโรคซึมเศร้าไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเดียวกันได้

         ความจริงแล้วถ้าคนที่เป็นไบโพล่าร์ทานแต่ยาต้านเศร้าเพียงอย่างเดียว อาการของพวกเขาอาจจะร้ายแรงขึ้น และอาจทำให้เขาตัดขาดตัวเองออกจากความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากว่าการรับประทานยาทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
 

2.มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ

         บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่างๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นงานต่างๆที่ยังค้างคายาวเป็นหางว่าวคือ หนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไบโพล่าร์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะมีอาการนี้เพราะมีหลายคนที่สามารถเรียนรู้วิธีการจัดการตัวเองและพัฒนาให้เป็นคนขยันในขณะที่กำลังเป็นไบโพล่าร์

3.อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย

         ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงคลุ้มคลั่ง หรือเศร้า พวกเขามักจะมีความอดทนต่ำ และแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ หรือฉุนเฉียวได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะมีอารมณ์แปรปรวนโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้น

 

4.พูดเร็ว

          การที่คนส่วนใหญ่พูดเร็วขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมากและบางคนพูดเร็วกว่าคนอื่นถึงแม้ว่าสถานการณ์จะปกติ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่การพูดเร็วเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคไบไพล่าร์ โชคดีที่มีหลายวิธีที่ใช้ดูว่าลักษณะการพูดเร็วแบบนี้ถือว่าเป็นอาการหนึ่งของโรคไบโพล่าร์หรือไม่

          คนที่เป็นไบโพล่าร์จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้าง เขามักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับคนรอบข้างที่จะเข้าใจว่าเขากำลังพูดถึงอะไรอยู่ เขาจะพูดแบบนี้ก็ต่อเมื่อพวกเขากำลังอยู่ช่วงที่
ผู้ป่วยมีอาการฟุ้งพล่าน (Mania Episode)

 

5.อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)

          อาจฟังดูแปลกแต่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน แน่นอนว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า (Depressive States) อาการสุดโต่งแบบนี้เรียกว่า Manic Episode แต่ผู้ป่วยไบโพล่าร์หลายคนก็ไม่ได้มีอารมณ์สุดโต่งแบบนี้

          ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะแค่รู้สึกค่อนข้างดี
(Hypomanic Episode) คล้ายๆกับคนปกติและสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ส่วนมากผู้ที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะประสบกับภาวะทั้ง 2 แบบสลับกันไปคือ บางครั้งจะเป็น Manic Episode และบางครั้งก็จะเป็น Hypomanic Episode

 

6.มีความต้องการทางเพศสูง

         จากข้อมูลของ Everyday Health ได้มีการระบุว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าอาจพบว่าตัวเองมีแรงขับ หรือความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ หรือคิดแต่เรื่องเซ็กส์ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
 

7.ไม่มีสมาธิ

         ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่ามักจะมีจิตใจที่ว้าวุ่นเพราะขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับอารมณ์แปรปรวน ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ มีผลการทำงานที่แย่ลง ฯลฯ
 
         
ลักษณะพฤติกรรมและอาการต่างๆที่ได้ระบุไว้ข้างต้นคือสิ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ แต่อาการต่างๆเหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้ด้วยเช่นกัน โรคไบโพล่าร์สามารถรักษาได้หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุข...
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles