[howto] โอตารี่แมน มาลองต่อ "กันพลา" ยามว่างกันเถอะ (ตอนที่ 1)

 
 
 
โอตารี่แมน
มาลองต่อ "กันพลา" ยามว่างกันเถอะ (ตอนที่ 1)
 
ถ้ามีเวลาว่างหยุดอยู่กับบ้านไม่ได้ไปไหน ไม่มีอะไรทำ เบื่อเล่นเน็ตส่องเฟซขอเสนอว่า
มาลองต่อโมเดล "กันพลา" (GunPla) กันเถอะ โดยมีค่าใช้จ่ายตั้งต้นไม่สูง
ไม่ต้องใช้พื้นที่มากขอซัก 2 ตารางเมตร ทักษะการประกอบ ก็แค่ตัดๆต่อๆ
ไม่ต้องมีใช้กาวแบบรุ่นเก่าสมัยก่อน ไม่ต้องทำสีเพิ่มเติมก็ออกมาสวยงาม
ดังนั้นใครๆก็เล่นได้ไม่ยุ่งยาก


 
คำว่า "กันพลา" ที่พูดถึงนี้ ความหมายอาจจะครอบคลุมแค่ของเล่นที่เป็นลักษณะ
Plastic Model จากการ์ตูนเรื่อง Gundam ที่ผลิตโดยค่าย Bandai ซึ่งมีรายละเอียด
เจาะลึกเพิ่มเติมได้จากบทความ รู้จักกับ Gunpla , Gundam คืออะไร มีอะไรให้เลือกบ้าง? พร้อมเกล็ดประวัติกันดั้ม 
แต่จริงๆแล้วก็ยังมีค่ายใหญ่ๆอีกค่ายหนึ่งคือ Kotobukiya เอาว่าตั้งต้นอยากให้ลอง
แบบโมเดลกันพลาของ Bandai กันก่อนละกัน เลือกรุ่นกันพลาและแบบหุ่นที่โดนใจ โดยความเห็นส่วนตัวสำหรับซีรี่ย์ต่างๆมีดังนี้

 
ซีรี่ย์ ราคา ลักษณะเฉพาะ จุดเด่น จุดด้อย
 HG  ต่ากว่า 1000 ชิ้นส่วนส่วนมากประกบซ้ายขาวเสร็จไม่มีแกนกลาง แยกสีไม่ครบ อยากได้ตามต้นแบบต้องลงสีเพิ่ม เทียบปริมาณเนื้องานในการเล่นตัดต่อแล้ว ซื้อซีรี่ย์อื่นๆคุ้มกว่า ยกเว้นจะเก็บรุ่นที่มีออกแค่ HG เท่านั้น เทียบปริมาณเนื้องานในการเล่นตัดต่อแล้ว ซื้อซีรี่ย์อื่นๆคุ้มกว่า ยกเว้นจะเก็บรุ่นที่มีออกแค่ HG เท่านั้น
 RG  ประมาณ 1000 มีแกนกลาง ประกอบเกราะชั้นนอก มีชิ้นส่วนขยับตามข้อต่อต่างๆ ขนาดเล็ก 1/144 แต่อัดแน่นดัวยความละเอียดและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เล็กเกินจะเล่น เพราะขยับได้เยอะแต่เล็กและละเอียดจนกลัวหัก
 MG  เกิน 1000 มีแกนกลางที่เหมือนเป็นกลไกจำลองเป็นเครื่องยนต์ มีความซับซ้อนสูง แยกสีครบตามต้นแบบ ขนาดพอดีประกอบเสร็จเล่นได้ การออกแบบมีรายละเอียดสูงทำให้ได้เพลิดเพลินกับการประกอบนานกว่า HG หรือ RG บางตัวบางรุ่นอาจมีความซับซ้อนน้อยกว่าที่คาดหวังเมื่อเทียบกับตัวอื่นๆในซีรี่ย์เดียวกัน มีผลิตเฉพาะหุ่นรุ่นตัวเด่นๆ ไม่ครบรุ่นเหมือน HG
 PG  หลาย 1000 เหมือน MG แต่เพิ่มความละเอียดของการประกอบชิ้นส่วนต่างๆมากขึ้นตามขนาดที่เพิ่มจาก 1/100 ไปเป็น 1/60 รายละเอียดการประกอบสูงมาก แบบส่วนมากจะสามารถ Open Hatch ได้ หรือ เปิดโชว์เครื่องยนต์ข้างในได้ นานๆออกมาตัว ออกเฉพาะหุ่นรุ่นโคตรพระเอก ราคาสูงตามปริมาณงานและคุณภาพ

ส่วนตัวผมก็จะเล่นแต่ MG เป็นหลัก แล้วก็จะเลือกแบบหุ่นฝั่งพระเอกโดยส่วนนึงก็จะอ้างอิงตามความขอบจากเนื้อเรื่องในการ์ตูนจากภาคต่างๆ แต่อย่างไรถึงไม่ได้ดูการ์ตูนมาก่อน ก็เลือกตามใจฉันได้เลย ใช่ว่าต้องหาดูการ์ตูนภาคนั้นๆก่อน ซึ่งเพื่อนคนนึงไม่ได้ดูการ์ตูนมาก่อน พอให้เลือกเล่น ก็จิ้มซื้อแต่หุ่นตัวเอกฝั่งผู้ร้าย
 
ซื้อร้านไหนดีละ ก็ตามร้านโมเดลของเล่นใกล้บ้านได้เลย
โดยเรทราคาทั่วไปจะประมาณ 0.4 ของราคาเงินเยนของสินค้านั้น
ราคาแต่ละร้านก็อาจต่างกัน +- 50 ถึง 100 บาท ก็หักลบค่ารถไปกลับหรือค่าไปรษณีย์ส่งของดู



หรือถ้าไปญี่ปุ่นก็อย่าลืมหาซื้อติดกลับมาซักกล่องนึงสองกล่อง ถ้ารู้แหล่งรู้ร้านถูกราคาที่โน่นจะลดจากหน้ากล่องอีก 10-20% เลยทีเดียวโดยเฉพาะรุ่นออกใหม่หรือรุ่นจะโดนโละหลังจากเลือกรุ่นเลือกหุ่นที่โดนใจใช่แนวได้แล้ว ก็มาดูเรื่องอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์แบบมือใหม่ มือสมัครเล่น ที่ไม่ต้องเทิร์นโปรเล่นแบบอาชีพ มีแค่นี้เอง


 
อุปกรณ์หลักสำหรับ ตัด แต่ง ลงเส้น แล้วก็มือประกอบ
1) คีมตัดพลาสติก ที่ด้านนึงเรียบแบน
2) มีดอาร์ตไนฟ์ (Art Knife)
3) ปากกาตัดเส้น
ทั้งหมดนี้ร้านขายโมเดลทุกร้านมีขาย หรือ ไปร้านเครื่องเขียนก็ได้
 
โดยคีมตัด จากรูปจะเห็นว่าด้านนึงจะเป็นลักษณะแบนเรียบ ซึ่งเหตุผลและวิธีใช้งานจะอธิบายในตอนถัดไปเคยเห็นบางคนมีใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเลย จริงๆแล้วไม่ควรอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ชิ้นงานเสียได้


 
     อย่างคีมรุ่นที่ผมใช้นั้น บังเอิญซื้ออันแรกเป็นอันซ้าย ไร้ยี่ห้อ แล้วรู้สึกว่าไม่คมพอกับ ปากคีมทีใหญ่เกินจึงไปหาซื้อได้มาอีกรุ่นของ SOLEX เล็กดีทน ราคาหลักร้อยถามว่าจำเป็นต้องใช้ รุ่นที่เค้าเรียกกันคีมเทพไหม ก็แล้วแต่ความสบายใจกับกำลังทรัพย์เพราะว่ารุ่นแพงก็เหมือนจะคมกว่าขนาดปากคีมก็จะเล็กกว่าจะปรับหามุมตัดก็จะง่ายกว่ามีดอาร์ตไนฟ์ ก็ให้เช่นเดียวกันมีหลายยี่ห้อหลายราคา ขึ้นกับวัสดุและการออกแบบ
 


ในส่วนของปากกาตัดเส้น แนะนำให้ใช้ของ Gundam Marker หน้าตาเหมือน Sakura Pigmaไม่ต้องคิดไรมาก
จัดมาเลยหน้าตาตามรูป เอาสีดำหนึ่งแท่งก่อน ราคาประมาณ 100 บาท



ถามว่าไม่มีมีด ไม่มีปากกาได้ไหม ใช้คีมตัดอย่างเดียวได้รึเปล่า
ไม่ต้องตัดเส้นได้ไหมเอาแบบดิบๆเลยก็อยากแนะนำว่าขั้นต่ำสุดๆก็ขอให้ใช้อุปกรณ์ตามนี้
เพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพดูสวยนิดนึงนะครับ
 
เอาละ มีโมเดลแล้ว มีอุปกรณ์แล้ว ลองมาตั้งท่าต่อกันได้แล้วการจัดสถานที่หน้างานประกอบโมเดลของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปซึ่งจากประสบการณ์เล่นแบบมือสมัครเล่นอยากแนะนำต่อมือใหม่ต่อไปนี้ จากรูปนั่งต่อที่ห้องที่คอนโด ผมใช้โต๊ะแลกซื้อของ 7-11 นั่งเล่นกับพื้นเลยครับ

  

     ซ้ายขวาให้วางเรียกแผงพลาสติก โดยมีการติดหลายเลขแผง A, B, C... ด้วย Post-it แล้วก็เรียงแผงตามอักษรกระจายไว้ซ้ายขวาเพื่อให้หยิบได้ง่ายๆ เวลาเลิกก็ซ้อนเก็บใส่กล่องดังเดิมภาพขวามือค่อนไปข้างหลังจะเห็นตัวกล่อง ให้เก็บพวกแผงเล็กๆกับซองใส่สติกเกอร์ที่อาจหล่นหายง่ายๆ ด้านหน้าให้เอาฝากล่องมาวางไว้หงายบนตัก โดยจะทำการตัดชิ้นส่วนต่างๆในนี้ เพื่อให้ชิ้นส่วนไม่หล่นกระเด็นหาย และให้เศษพลาสติกหล่นอยู่ในนี้ด้วย


     บนโต๊ะก็ให้วางอุปกรณ์ต่างๆที่รอใช้งาน เช่น คีม มืด ปากกา และ ชิ้นส่วนที่ประกอบเสร็จก่อนหน้ามีข้อเสียถ้าจะนั่งต่อกับพื้นแบบนี้ก็คือต่อได้ซัก 1-2 ชั่วโมงก็จะเมื่อยหลังซึ่งปกติผมเองจะประกอบวันละ 1 ชมแบบว่าไม่มีรีบไม่เร่งให้เสร็จ เก็บไว้ต่อนานๆโดยการจัดวางพื้นที่แบบนี้ทำให้สามารถจัดเก็บและทำความสะอาดง่ายเศษชิ้นส่วนพลาสติกทั้งหมดจะหล่นอยู่อยู่ในฝากล่อง
 
ในส่วนเทคนิคการตัดต่อประกอบโมเดลแบบมือสมัครเล่นนั้น
จะสรุปลงรายเอียดของการใช้อุปกรณ์ต่างๆ และมุมมองในการประกอบ
ขอต่อในตอนต่อไปครับ

ขอบคุณบทความดีๆจาก

www.letterplanet.com/blog/OtaryMan
Created date : 09-06-2016
Updated date : 09-06-2016
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Team

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles