[article] 6 อาชีพสายตรง! ทางเลือกสำหรับคนจบ Food Science (อยากบอกว่า...เราไม่ได้เรียนทำอาหารกันนะจ๊ะ ^^)

 
 
 
วัสดีค่า...โจ้นะคะ นี่เป็นบทความเรื่องที่สองของโจ้แล้ว หลังจากบทความแรกที่ได้พาไปเที่ยวงาน "Take The Kids to The Sea Fundraising Event" แล้วก็ได้มีการเกริ่นๆ ไปบ้างว่าโจ้นั้นคือ "สาว Food Science" วันนี้ก็อยากจะมาขยายความให้ทุกคนได้รู้จักกับคนที่เรียน Food Science อย่างโจ้กันมากขึ้นนะคะ เพราะคิดว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่าพวกเรานั้นเรียนและทำงานเกี่ยวกับอะไรกัน ^^
  
 
"ทำกับข้าวไม่เป็นแล้วจะเรียน Food Science ได้เหรอ?"
 
ป็นคำถามจากคนรอบข้างที่โจ้เจอมาตั้งแต่ 17 ปีก่อน ในวันที่ตัดสินใจว่าจะสอบเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (Food Science and Technology)
เมื่อสอบเข้าไปได้แล้วตลอดระยะเวลาสี่ปีที่เรียนก็จะเจอคำถามใหม่ว่า
“เรียน Food Science นี่ต้องทำกับข้าวอร่อยแน่ๆ เลยใช่มั้ย?”
หรือเวลาไปออกค่าย เพื่อนๆ คณะอื่นก็มักจะพูดกันว่า
“เรามีเด็ก Food มาด้วย สบายล่ะ... มีคนทำกับข้าวให้กินแล้ว”  
 
และจนถึงปัจจุบันก็ยังพบว่ารุ่นน้อง (จริงๆ ต้องเรียก... รุ่นหลาน เหลน โหลน ^^') ที่เรียนสาขานี้ก็ยังคงต้องคอยตอบคำถามเหล่านี้อยู่... วันนี้โจ้จะขอเป็นตัวแทนของเด็ก Food มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้กันค่ะ ^^
 
Food Science นั้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีอยู่ในแทบทุกมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนนะคะ อาจจะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ เช่น จุฬาฯ หรือคณะอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ม.เกษตร, ม.เชียงใหม่ หรือสำหรับ ม.ขอนแก่น ที่โจ้เรียนจบมาเราจัดอยู่ในคณะเทคโนโลยีค่ะ
อาจมีหลายๆ คนที่สงสัยว่า Food Science และ Food Technology นั้นต่างกันยังไง.. โจ้บอกได้เลยค่ะว่าแทบไม่ต่างกัน เรียนและจบมาทำงานได้เหมือนกันแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ 
 
  
ราเรียนอะไรกันบ้าง?
//ช่วงปีที่หนึ่ง// เราเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนเด็กวิทย์ทั่วไปค่ะ ซึ่งก็ได้แก่
ฟิสิกส์ 
เคมี 
ชีวะ 
คณิตศาสตร์ 
แคลคูลัส
ภาษาอังกฤษ

 
 
//ช่วงปีสองถึงปีสี่// เราเรียนเจาะลึกเรื่องวิทยาศาสตร์ของอาหารโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น
เคมีอาหาร 
⇒ เราเรียนโครงสร้างทางเคมีของอาหารแต่ละชนิด และปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้น ว่าส่งผลให้อาหารเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง
จุลชีววิทยาของอาหาร ⇒ เราเรียนเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร เชื้อเหล่านั้นทำให้อาหารดีหรือเสียได้ยังไง และทำยังไงจะเพิ่มจุลินทรีย์ดี และลดจุลินทรีย์ที่ไม่ดีเพื่อยืดอายุการเก็บของอาหารได้
การแปรรูปอาหาร ⇒ เราเรียนเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร และสภาวะที่ต้องควบคุม เพื่อให้ได้อาหารที่เก็บได้นาน สะดวกต่อการบริโภค หรือรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ให้ใกล้เคียงกับของสดมากที่สุด
การเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยว ⇒ อาหารที่ดีต้องเริ่มต้นจากวัตถุดิบที่ดี ดังนั้น เราจึงต้องเรียนว่าพืชหรือสัตว์หลังการเก็บเกี่ยวหรือเชือด มีกลไกการเปลี่ยนแปลงยังไง และทำยังไงจึงจะได้วัตถุดิบที่คุณภาพดีที่สุดมาแปรรูป
การทดสอบชิมตามหลักการทางประสาทสัมผัส ⇒ อาหารที่เราผลิตต้องอร่อย ^^ ดังนั้นก่อนจะถึงมือผู้บริโภคเราจะต้องมีวิธีการทดสอบว่าอาหารนั้นถูกปากผู้บริโภคแน่นอน 
การประกันคุณภาพอาหาร ⇒ อาหารที่เราผลิตต้องสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค เราจึงต้องเรียนเรื่องมาตรฐานการผลิต และกฏหมายอาหาร
การบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรม ⇒ เราผลิตอาหารเพื่อคนทั้งโลก ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้วิธีการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จบสี่ปีละ... ไม่มีวิชาปรุงอาหารเลย 5555 ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยนะคะ ถ้าหากเจอคนที่เรียนจบ Food Science มาแล้วทำอาหารไม่เป็น ^^ 
 
ล้วถ้างั้นเราทำงานอะไรได้บ้าง... มาดูกันค่ะ
ที่มา: https://gmoawareness.files.wordpress.com/2013/03/food-scientists-employment.gif
 
จากภาพจะเห็นว่ามีงานหลายภาคส่วนที่เราสามารถเข้าไปทำได้... วันนี้โจ้จะเล่าถึงเฉพาะสายงานหลักสองส่วน ซึ่งคิดเป็น 70% เลยนะคะ นั่นคือการทำงานในโรงงานผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม และโรงงานผลิตวัตถุดิบค่ะ

เอาล่ะ ... มาดูสายงานตรงที่เราสามารถทำได้กัน ^^

1. งานขาย (นักขายที่สามารถเล่าเรื่องอาหารได้ดีกว่าใคร :27:)
เราสามารถเป็นตัวแทนขายวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตอาหาร หรือขายอาหารให้แก่ร้านค้าต่างๆได้  ซึ่งแน่นอนว่างานขายนี้ไม่ว่าใครที่เรียนจบอะไรมาก็สามารถทำได้ แต่ความพิเศษของเราคือ เราจะสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของสินค้าให้ลูกค้าได้ชัดเจนและถูกต้องมากกว่าใคร เพราะพื้นฐานเราแน่น!

2. งานจัดซื้อ (นักหาของผู้รู้ลึกรู้จริง yes)
เราสามารถเสาะหาวัตถุดิบ (sourcing) เพื่อนำมาใช้ในการผลิตอาหารได้ ซึ่งความพิเศษของเราที่มากกว่า การ sourcing ทั่วไปก็คือ เราสามารถใช้ความรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและมีมาตรฐานตรงกับความต้องการ มาผลิตสินค้าได้นั่นเอง
 
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) (นักสร้างสรรค์ด้านอาหารตัวจริง enlightened)
เราเป็นผู้คิดสูตรอาหาร (อันนี้ต้องใช้ทักษะของแม่ครัวร่วมด้วยเล็กน้อยนะคะ ^^) งานนี้เรียกได้ว่าต้องดึงเอาวิชาความรู้ที่เรียนทั้งหมดมาใช้กันเลยทีเดียว เพราะเราต้องออกแบบตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูป ภาชนะบรรจุที่ใช้ โดยทุกอย่างต้องตรวจสอบด้วยว่าถูกต้องตามกฏหมายอาหาร และหลังจากนั้นต้องทำการทดสอบชิมเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารของเราจะขายได้แน่นอน ^^ และเมื่อมั่นใจแล้วเราก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ออกแบบไว้นี้ให้แก่ฝ่ายผลิตต่อไป

4. งานฝ่ายผลิต (เล็กๆ ไม่! ใหญ่ๆ ทำ angle)
เราเรียนมาเพื่อผลิตอาหาร scale ใหญ่ มีการใช้เครื่องจักรและแรงงานคนผสมกัน นักวิทยาศาสตร์อาหารที่ทำงานในฝ่ายผลิตจะมีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรและควบคุมคนงาน ให้ผลิตสินค้าออกมาถูกต้องตามที่ R&D ออกแบบไว้ และให้ทันตาม order ของลูกค้าด้วย เราจึงต้องวางแผนการทำงานให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องใช้ทักษะของวิชาบริหารจัดการเข้ามาช่วยอย่างมาก 


5. งานฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ (QC/QA) (สายตรวจคุณภาพ คู่อริฝ่ายผลิต :21:)
QC/QA นี่เป็นฝ่ายตรวจสอบค่ะ... ตรวจทุ๊กกกกขั้นตอนของการผลิต...เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้, ตรวจสอบพื้นที่ผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ และคนที่จะเข้ามาทำงานในพื้นที่ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ, ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตว่าทำถูกต้อง และสุดท้ายก็ตรวจสินค้าว่ามีคุณภาพเป็นไปตามที่ R&D กำหนดไว้จริงๆ เค้าถึงจะปล่อยให้ขายสินค้า lot นั้นได้
QC/QA นี่จะมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบเยอะนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจความหวาน ความเปรี้ยว ความเค็ม ความเผ็ด ความกรอบ ตรวจค่าสี เป็นต้น โดยเราจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ร่วมกับการชิมสินค้าเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพก่อนปล่อยขายค่ะ


6. งานฝ่ายระบบคุณภาพ (QS)  (สายตรวจศูนย์กลาง ผู้รู้จริงทุกส่วนของโรงงาน cool)
หลายๆคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบมาตรฐานในการผลิตอาหาร เช่น GMP, HACCP, BRC, ISO, Halal กันมาบ้างนะคะ... QS นี่จะเป็นศูนย์กลางในการดูแล และควบคุมให้ทุกฝ่ายทำงานตามระบบคุณภาพเหล่านี้ล่ะค่ะ... QS จะเป็นเจ้าบ้านในเวลาที่มีหน่วยงานราชการ หรือผู้รับรองระบบมาตรวจโรงงาน และรวมถึงการไปตรวจสอบผู้ขายวัตถุดิบด้วย ว่าการผลิตของเค้าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่

สำหรับตัวโจ้นั้นเลือกทำงานเป็น R&D enlightened ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่เรียนจบมา เพราะคิดว่า R&D เป็นงานที่สนุก ได้สร้างสรรค์สูตรอาหารใหม่ๆ และได้ทำงานร่วมกับทุกฝ่าย ทำให้มองเห็นภาพรวมของการผลิตอาหารได้ทั้งระบบ
 
R&D ทำงานร่วมกับฝ่ายจัดซื้อ...ในการร่วมกันหาวัตถุดิบใหม่ๆมาใช้, ฝ่ายขาย...ในการรับข้อมูลความต้องการของลูกค้าและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า, ฝ่ายผลิต...ในการถ่ายทอดสูตรและวิธีการผลิตให้เค้า และร่วมให้คำปรึกษาเวลาที่เกิดปัญหาในสายการผลิต,ฝ่ายควบคุมคุณภาพ...ในการร่วมกันกำหนดคุณภาพของสินค้าแต่ละตัวเพื่อให้เมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วมีคุณภาพเหมือนกันทุกๆ lot, และฝ่ายระบบคุณภาพ... ต้องเกี่ยวข้องอยู่แล้วนะคะ เพราะการทำงานของ R&D ก็ต้องเป็นไปตามระบบคุณภาพมาตรฐานเช่นกัน ..^^..

หากใครที่สนใจในเรื่องของ Food Science หรือการแปรรูปอาหารสามารถเข้ามาพูดคุยกันต่อได้นะคะ ที่เพจ www.facebook.com/rotjana.wikrantasewee เลยค่ะ
 
ขอบคุณภาพจาก...
http://blogs-images.forbes.com/eustaciahuen/files/2015/09/food-0929_FL-science-and-food_1200x900.jpg
http://www.giantfreakinrobot.com/wp-content/uploads/2013/10/foodscience.jpg
https://www.umass.edu/foodsci/sites/default/files/Physical-Chemical-Properties-of-Food.jpg
https://gmoawareness.files.wordpress.com/2013/03/food-scientists-employment.gif
http://www.autoinsurancecompanies.trade/wp-content/uploads/2016/03/Sale-Job-1-660x330.png
http://naturalsociety.com/wp-content/uploads/healthactivism.jpg
https://admissioninindia.files.wordpress.com/2013/05/food-science.jpg
http://southernidahodevelopment.com/wp-content/uploads/2013/06/southern_idaho_food_processing_35815233-940x626.jpg
http://me.ac.nz/projects/yearbook/yearbook09/images/food.jpg
http://www.sprangerbusinesssolutions.com/quality-system-audits.html
Created date : 20-04-2016
Updated date : 20-04-2016
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Team

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles