[article] เหรียญที่ระลึกราชวงศ์จักรี เหรียญแห่ง ประวัติศาสตร์ชาติไทย

 
 
 

       ปฐมบรมกษัตริย์ ผู้ใดเลยจะคาดการณ์ได้ว่า หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ในวัยเพียง ๒๕ พรรษานั้น ในกาลต่อมาพระองค์จะได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี ในวัยเพียง ๓๕ พรรษา

       และสุดท้ายในวันที่ ๖ เมษายนพ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งมีพระนามเต็มว่า “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมูลิกากร บวรรัตนปริณายก

      เอกอัครเสนาบดี” พระองค์ได้ปราบปรามเหตุจลาจลที่เกิดขึ้นในเมืองธนบุรีได้สำเร็จ แล้วพระองค์ก็ปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์องค์ปฐมแห่งราชวงศ์จักรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 
ภาพจาก : Sites.google

      ยุคทองของเหรียญแล้วละก็นักเล่นเหรียญไม่ว่าในยุคก่อนหรือยุคปัจจุบันก็ตาม ต้องยกให้เหรียญในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นเหรียญที่คนนิยมเสาะหากันมากที่สุด เหรียญแรกที่ปรากฏพระบรมรูปในหลวงรัชกาลที่ ๑ คือ เหรียญสตพรรษมาลา

       วรรคหนึ่งจากพระนามของท่านที่ว่า "นเรศวรราชสุริยวงศ์เนื่องมาจากท่านทรงเป็นเชื้อสายสืบสายพระโลหิตจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" นั่นเอง จากวันนั้นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีได้ปกครองผืนแผ่นดินไทยให้เกิดความร่มเย็นแก่พสกนิกรมายาวนานถึงปัจจุบันกว่า ๒๓๓ ปีมาแล้ว


ภาพจาก : Sites.google

        ปฐมกษัตริย์ในด้านวรรณคดี ถือได้ว่าในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น เป็นยุคที่วรรณคดีมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจนได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย


ภาพจาก : Lakmuangonline

       ปฐมกษัตริย์ในด้านการค้า ถือได้ว่าในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกษัตริย์ที่ทรงเก็บหอมรอมริบเงินทองไว้ให้แผ่นดินจำนวนมาก ที่ทราบกันในนาม “เงินถุงแดง” เพื่อให้เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น ซึ่งต่อมาอีกราว ๔๐ ปีจึงได้ใช้เงินถุงแดงนี้เองจ่ายค่าปรับให้ “ประเทศฝรั่งเศส”

 
ภาพจาก : cs.udru.ac.th

       ปฐมกษัตริย์ ในด้านวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านดาราศาสตร์อย่างมาก สามารถคำนวณวันเวลา ตำแหน่งสถานที่ที่จะเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าถึง ๒ ปี แม้ต่างชาติเองก็ไม่เชื่อในคราวแรก จึงมาพิสูจน์กันเลยในวันนั้นและได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก
 
       
ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนน้อยของพระราชประวัติในองค์พระมหากษัตริย์ ที่ได้ปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นมีความผาสุก มาโดยตลอด
 


ภาพจาก : Ucommerce

        อย่างไรก็ตาม ถ้าจะกล่าวถึงยุคทองของเหรียญแล้วล่ะก็ นักเล่นเหรียญไม่ว่าในยุคก่อน หรือยุคปัจจุบันก็ตาม ต้องยกให้ “เหรียญในสมัยรัชกาลที่ ๕” เป็นเหรียญที่คนนิยมเสาะหากันมากที่สุดเหรียญแรกที่ปรากฏพระบรมรูปในหลวงรัชกาลที่ ๑ คือ เหรียญสตพรรษมาลา

       เหรียญสตพรรษมาลา (The Centenary Medal) ใช้อักษรย่อ ส.ม. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ.๑๐๐ (พ.ศ.๒๔๒๔) สำหรับพระราชทานเพื่อเป็นที่ระลึกในการสมโภชครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีโดยถือวันฝังหลักพระนคร ในวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ มาครบร้อยปีแรก


ภาพจาก : Daily

      เหรียญสตพรรษมาลามี ๓ ชนิด คือ เหรียญทองคำเหรียญเงิน และเหรียญทองแดงพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ชนิดทองคำ พระราชทานตั้งแต่ชั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอขึ้นไป ส่วนชนิดเงิน และสำริด (ทองแดง) พระราชทานผู้ที่รองแต่ชั้นนั้นลงมา

      เหรียญสตพรรษมาลาเป็นเหรียญรูปกลมแบน ขนาดเขื่อง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖.๓ เซนติเมตร ที่ขอบมีรัศมีโดยรอบยี่สิบแฉก ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๕ รัชกาล คือ

1. รัชกาลที่ ๑
2. รัชกาลที่ ๒
3. รัชกาลที่ ๓
4. รัชกาลที่ ๔
5. และรัชกาลที่ ๕ มีอักษรที่ริมขอบว่า...
  • พ.บ.ส.พระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนาถพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
  • พ.บ.ส.พระปรมพงษเชษฐมเหศวรสุนทรพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  • พ.บ.ส.พระปรมาธิวรเสฐมหา เจษฎาบดินทร์พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.บ.ส.พระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      พ.บ.ส. พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเบื้องล่างมีอักษรว่า “จีรํ รชฺเช ปติฏฐาตุ” และมีอักษรว่า “เบนซอน” ใต้พระบรมรูปด้านหลัง ภายในขอบวงกลมกลางเหรียญเบื้องบนมีรูปจักรตรีและมีอักษรว่า...“การสมโภชพระนครเฉลิมกรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาบางกอก 
 


ภาพจาก : komchadluek

      ในการบรรจบรอบ ๑๐๐ ปี เนื้อทองคำ ผลิตมาจำนวนเพียง ๕ เหรียญเท่านั้น เนื้อเงินสร้าง ๓๐๐ เหรียญ แบ่งเป็น

๑. เนื้อเงิน กะไหล่ทอง ๑๐๐ เหรียญ
๒. เนื้อเงินกะไหล่นาก ๑๐๐ เหรียญ
๓. เนื้อเงินล้วน ๑๐๐ เหรียญ


และแบบสุดท้ายเนื้อสำริด (ทองแดง) สร้าง ๕,๕๐๐ เหรียญ แบ่งเป็น

๑. เนื้อสำริดกะไหล่เงิน ๕๐๐ เหรียญ
๒. เนื้อสำริด (ทองแดง) ๕,๐๐๐ เหรียญ

       เหรียญที่ระลึกงานสมโภชพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี เป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญที่สอง ที่ปรากฏพระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวงในรัชกาลก่อนๆ ครบจนถึงรัชกาลที่ ๗ เป็นเหรียญรูปทรงกลม ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๗

       ด้านหลังของเหรียญเป็นรูปพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว มีอักษร จารึกความว่า “ที่ระลึกในงานสมโภชพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕” นับเป็นเหรียญที่ระลึกที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์บ้านเมืองและหาชมได้ยากคาดว่าผลิตออกมาจำนวนไม่มากนัก

       นอกจากนี้แล้วเหรียญปราบฮ่อ ร.๕ เป็นเหรียญที่ระลึกประเภทปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในราชการสงครามทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ไปราชการสงครามถือเป็นเหรียญยอดนิยมที่สุดในบรรดาเหรียญที่ระลึกของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในอดีต ด้วยเหตุที่ว่า

“ผู้นำไปใช้มีประสบการณ์มากมายเกินคณานับ ซึ่งเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ใจว่าเหรียญทั้งสองไม่ได้เข้าพิธีปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์แต่เป็นเหรียญที่มีพุทธคุณสูง โดยมีคติความเชื่อว่า ผู้แขวนจะมีโชคลาภบารมี”

*********
สนใจติดตามข้อมูล อ่านต่อได้ที่ 
https://www.facebook.com/Pantae.fan


เรียบเรียง / ข้อมูล : นิว 
อ้างอิงจาก : komchadluek

 

กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles