[article] ดนตรีกับชีวิตมนุษย์ ประโยชน์และคุณค่าของดนตรี

 
 
 

ดนตรีกับชีวิตมนุษย์
ประโยชน์และคุณค่าของดนตรี


       สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานจนกลายเป็นวัฒนธรรมของแต่ ละเชื้อชาติ สิ่งนั้นก็คือ 'ดนตรี' มีการประพันธ์บทเพลง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงเพื่อความไพเราะ ดนตรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์

ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรค
หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วดนตรีสามารถบำบัดโรคได้หรือไม่ ?

 
อ.ดุษฏี พนมยงค์ บุญทัศนกุล ผู้เขียนหลักสูตรดนตรีพัฒนาคุณภาพชีวิต อธิบายว่าดนตรีมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดโดยแม่จะร้อง เพลงกล่อมลูก ครั้นเมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิต ก็มีการใช้ดนตรีในพิธีกรรมต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ได้มีมานานแล้ว ในปัจจุบันวงการแพทย์ก็ได้มีการนำดนตรีมากระตุ้นการทำงานของสมอง และระบบทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบการหายใจ โดยการใช้วิธีเปล่งเสียงช่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ในประเทศไทย ได้มีมากว่า 20 ปีแล้ว การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดจิตใจหรือร่างกายนั้น ผู้รักษาจะต้องเป็นแพทย์หรือนักจิตวิทยาบำบัดเท่านั้น

 
ดนตรีเป็นส่วนสำคัญของชีวิต....แม้แต่ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ยังชอบฟังดนตรี

       อ.ดุษฏี พนมยงค์ บุญทัศนกุล อธิบายว่า นี่เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ และเป็นหลักการแพทย์ ซึ่งแพทย์ในต่างประเทศได้พิสูจน์ว่าทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา สามารถได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์ได้ โดยทารกจะฟังความเคลื่อนไหว ของอวัยวะภายในครรภ์มารดา ในประเทศตะวันตกแพทย์ได้นำหลักการนี้มาใช้ โดยให้ทารกฟังดนตรีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อทำให้ทารกมีเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น และทำให้บริเวณระหว่างเชลล์มีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เมื่อเด็กฟังดนตรีที่มีคุณภาพ เซลล์สมองของเขาจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง แล้วเครือข่ายที่โยงใยระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ก็จะมีมากขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่เราเรียกว่า 'ตรรกะ' หรือเหตุและผล เมื่อเด็กมีตรรกะตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้น เมื่อเขาคลอดออกมาเขาก็จะมี จิตใจที่แจ่มใสและร่าเริง อย่างไรก็ตามดนตรีก็ต้องเลือกฟังเพราะถ้านำดนตรีบางประเภทมาให้เด็กฟังอาจทำให้เกิดความไม่สงบ เมื่อเด็กเกิดมาเขาอาจจะเป็นเด็กก้าวร้าวซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์

 
ประโยชน์ของดนตรีต่อสังคมมนุษย์

      ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าดนตรีนั้นก่อกำเนิดมาพร้อม ๆ กับสังคมมนุษย์  ดังนั้นมนุษย์จึงได้นำเอาดนตรีมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ของดนตรีที่มนุษย์นำมาใช้ได้ ดังนี้...

1. ด้านการศึกษา 
ด้านการศึกษานำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบในการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะผลปรากฏว่าเสียงดนตรี สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และผ่อนคลายความตึงเครียด 


2.ด้านการแพทย์
ด้านการแพทย์ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้นการ นำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี  ดังที่ผู้ใช้นามปากกาว่า  คุณทองจีน  บ้านแจ้ง  เขียนไว้ในเรื่อง แกะสะเก็ดคลาสสิค ในหนังสือ ชาวกรุง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2522  ว่า “หมอชาวกรีกโบราณท่านหนึ่งชื่อว่า แอสคลีปีอุส(Asclepius)ได้ใช้ดนตรีบรรเลงให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแล้วฟัง ปรากฏว่าช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี”  
 

 

3. ด้านสังคม 
ด้านสังคมมีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดควบคุมการทำงาน เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่นการพายเรือจังหวะยก-ส่งของ เป็นต้น  การใช้ดนตรีปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์เป็นต้น ใช้ เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม น่าเชื่อถือ   หรือสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริง เบิกบาน สนุกสนาน ในงานเลี้ยงสังสรรค์ งานฉลองต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงาน อาชีพ ให้กับบุคคลในสังคมอย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นักดนตรี นักร้อง ครูสอนดนตรี นักประพันธ์เพลง นักผลิตรายการคอนเสิร์ต นักดนตรีบำบัดผู้อำนวยการเพลงหรือวาทยกรนักเขียนทางดนตรี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรี และผู้ซ่อมหรือปรับเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น
 
 
4. ด้านจิตวิทยา
ด้านจิตวิทยา ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนนิสัยก้าวร้าวของมนุษย์ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กจะทำให้มีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น โดยใช้หลักทฤษฎีอีธอส   (Ethos)  ของ ดนตรี ซึ่งเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของ มนุษย์  จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้  ปัจจุบัน มีนักดนตรีบำบัดผู้ซึ่งมีความสามารถฟื้นฟูและบำบัดรักษาความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำงานในด้านนี้

5. ด้านกีฬา 
ด้านกีฬาใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติกกิจกรรมเข้าจังหวะ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ที่ใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบในการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจกล่าวได้ว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบที่ขาดเสียมิได้ในกิจกรรมของสังคมมนุษย์


 

        ชีวิตคนเราเกิดมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือว่าทุกอิริยาบถที่แสดงออกทางอินทรีย์ 5 ก็มีความเกี่ยวข้องกับดนตรี ในชีวิตคนเราพูดถึงปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแต่ในปัจจุบันอาจมีปัจจัย 5 เข้ามาเกี่ยวข้องคือ โทรศัพท์มือถือก็มีเสียงเพลงเรียกว่าแสดงออกความเป็นอัตตาของตนเอง ในสังคมด้านธุรกิจเพลงก็สามารถทำรายได้มหาศาลให้กับผู้ประกอบการ ทุกเทศกาลงานต่าง ๆ ชีวิตมีความสุข ความทุกข์ ดีใจ ฉลองความสำเร็จก็มีบทเพลงเข้ามาเกี่ยวข้อง


 

*********
สนใจติดตามข้อมูล อ่านต่อได้ที่ 

https://www.facebook.com/Pantae.fan


 
อ้างอิงจาก : blogspot.com

 

กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles